สสส.เตือน ‘กินเมนูดิบ’ อันตรายถึงตาบอด เน้นย้ำ 5 หลักบริโภคปลอดภัย

สสส.เตือน ‘กินเมนูดิบ’ อันตรายถึงตาบอด เน้นย้ำ 5 หลักบริโภคปลอดภัย

สสส.ออกโรงเตือนประชาชน กินเมนูดิบ อันตราย เสี่ยงถึงตาบอด พร้อมแนะ ป้องกันงดทานอาหารดิบ ยึดหลักปรุงสุก-สะอาด-ถูกสุขลักษณะ นักโภชนาการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ได้ออกมาเตือนประชาชนที่กำลังตามเทรนด์ กินเมนูดิบ ‘ปูนาดิบ – หมึกช็อต – กุ้งเต้น’ เสี่ยงรับเชื้อโรค พยาธิไช เลือดออกในสมอง อันตรายถึงตาบอด แนะ ป้องกันงดทานอาหารดิบ ยึดหลักปรุงสุก สะอาด ถูกสุขลักษณะ

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ทางเพจเฟสบุ๊ก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) 

ได้ออกมาโพสเตือนประชาชนในเรื่องของการ กินเมนูดิบ ตามเทรนด์ในโลกออนไลน์ว่า “กินดิบ ปูนาเป็น ๆ หมึกช็อต กุ้งเต้น อันตรายถึงตาบอด” ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการ สสส. กล่าวว่า กระแสการบริโภคในสื่อออนไลน์ มีกลุ่มผู้บริโภคชื่นชอบกินอาหารดิบ เช่น ปูนาเป็น ๆ ปลาหมึกสด ๆ กุ้งเต้น โดยไม่ผ่านการปรุงสุก เป็นพฤติกรรมเฉพาะกลุ่ม รวมถึงความอยากทดลอง ประกอบกับมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านสื่อออนไลน์ กลายเป็นกระแสเมนูยอดนิยม มีวิธีการกินที่น่าตื่นเต้น อาจกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

การบริโภคอาหารควรใช้หลักตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) 5 ประการ ดังนี้

1.รักษาความสะอาด

2.แยกอาหารดิบจากวัตถุดิบอื่น ๆ

3.ปรุงสุกทั่วถึง

4.เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม

5.ใช้น้ำสะอาดและวัตถุดิบที่ปลอดภัยในการปรุงอาหาร

ทั้งนี้การปรุงอาหารอย่างถูกวิธีและการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย ช่วยความเสี่ยงจากการบริโภคสารปนเปื้อนต้นเหตุเกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว

ผศ.ดร.วรงค์ศิริ เข็มสวัสดิ์ หัวหน้าหน่วยจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การกินปูนาดิบเสี่ยงพยาธิใบไม้ในปอดและพยาธิปอดหนู พยาธิใบไม้ปอดเมื่อเข้าสู่ลำไส้สามารถชอนไชเข้าสู่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคไอเรื้อรังและมีอาการเจ็บหน้าอก

พยาธิปอดหนู นอกจากอาการทั่วไป ไข้ ปวดศีรษะ และอาเจียนแล้ว อันตรายสูงสุดส่งผลให้ตาบอด ปลาหมึกเป็น ๆ แช่ในแก้วน้ำจิ้มซีฟู้ด เมื่อกินสด ๆ มีโอกาสได้รับเชื้ออหิวาต์เทียม ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในทะเล ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ บางรายถึงขั้นลำไส้อักเสบ

นอกจากนี้ยังเสี่ยงพยาธิที่พบในสัตว์น้ำเค็ม ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด กรณีพยาธิเคลื่อนที่อาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ ทั้งนี้ ความรุนแรงจากการบริโภคอาหารดิบที่มีการปนเปื้อนขึ้นกับปริมาณและความถี่ในการบริโภค และสุขภาพร่างกายของผู้บริโภค หากมีภาวะเจ็บป่วยหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เจ้าของปิ้งย่างตัดพ้อ กินปิ้งย่างไม่หมด ตักเหลือเพียบ ร้านไม่มีค่าปรับ

เจ้าของร้านโพสต์ตัดพ้อ กินปิ้งย่างไม่หมด ตักเหลือเพียบ ร้านไม่มีค่าปรับ ชาวเน็ตแห่ให้กำลังใจเพียบ หนุนให้คิดค่าปรับป้องกันซ้ำรอย

เพจเฟซบุ๊ก Chotima Rungroj เจ้าของร้านปิ้งย่างแห่งหนึ่งได้โพสต์ภาพของถาดอาหารที่ถูกเหลือไว้เป็นจำนวนมาก หลังจากที่มีลูกค้ากินปิ้งย่างไม่หมด โดยบางภาพนั้นแสดงให้เห็นว่ามีอาหารเหลือมากถึง 7 จาน ทำเอาเจ้าของร้านถึงกับท้อใจ

ผู้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “ท้อใจมาก อาหารที่เหลือแต่ละโต๊ะ ต่อโต๊ะ ต่อวัน ปูดำปูทะเลหามาให้ก็ย่างทิ้งขว้างเยอะมากมากๆ เนื้อสเต็กที่เติมให้ไม่เคยขาดก็ย่างจนแห้ง หมกในเตาในหม้อ โดยที่ไม่ได้รู้สึกเสียดาย เพียงแค่เพราะเราคือบุฟเฟต์…”

ในคอมเม้นท์ยังได้โพสต์ข้อความเชิงตัดพ้อว่า “ไม่อยากทำดีแล้ว ทำดีไปเพื่ออะไรวะ ปรับปรุงร้านเพื่ออะไร ไม่เคยมีป้ายปรับให้รกตา ยิ่งไม่แคร์ กุ้งอะมาบุฟเฟต์ทั้งทีเอาให้คุ้มเว้ยพวกเรา ย่างทิ้งๆสิบโลก็ผ่านมาแล้ว”

หลังจากโพสต์ดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีชาวเน็ตเข้ามาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงถามหาพิกัดด้วยว่าร้านอยู่ไหน เผื่อจะไปอุดหนุน ขณะที่ชาวเน็ตอีกส่วนเรียกร้องว่าให้มีการปรับลูกค้าที่ทานไม่หมด เพื่อเป็นการลดปัญหาในลักษณะดังกล่าว

ในระยะแรกที่ยังไม่มีชุดตรวจ PCR แพร่หลาย ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์สามารถร่วมถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี long-read nanopore sequencing ในลักษณะของ “shortgun metagenomic sequencing” กล่าวคือไม่จำเป็นต้องทราบว่าในสิ่งส่งตรวจมีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดได้สำเร็จภายในเวลา 48 ชั่วโมง หากใช้ “ชิพ (flow cell) ขนาดเล็ก”ในการถอดรหัสพันธุกรรม จะสามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้ประมาณ 20 ตัวอย่างต่อชิพ (ภาพ 3) แต่หากใช้ชิพใหญ่ในการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโรคฝีดาษลิงทั้งจีโนม จะสามารตรวจสอบหรือถอดรหัสพันธุกรรมได้มากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อชิพ (ภาพ 4) ผลลัพธ์ที่ได้คือจะทราบว่ามีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดบ้างและจำนวนเท่าไรในตัวอย่างส่งตรวจนั้นๆ

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า